เมนู

รูปธาตุยา อายตนกถา



[1221] สกวาที อัตภาพมีอายตนะ 6 อยู่ในรูปธาตุ หรือ ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. ในอรูปธาตุนั้น มีฆานายตนะ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ในรูปธาตุนั้น มีคันธายตะ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ในรูปธาตุนั้น มีชิวหายตนะ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ในรูปธาตุนั้น มีรสายตนะ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ในรูปธาตุนั้น มีกายายตนะ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ในรูปธาตุนั้น มีโผฏฐัพพายตนะ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[1222] ส. ในรูปธาตุนั้น ไม่มีคันธายตนะ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ในรูปธาตุนั้น ไม่มีฆานายตนะ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ในรูปธาตุนั้น ไม่มีรสายตนะ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ในรูปธาตุ นั้นไม่มีชิวหายตนะ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ในรูปธาตุนั้น ไม่มีโผฏฐัพพายตนะ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ในรูปธาตุนั้น ไม่มีกายายตนะ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[1223] ส. ในรูปธาตุนั้น มีจักขายตนะ และรูปายตนะด้วย หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ในรูปธาตุนั้น มีฆานายตนะ และคันธายตนะด้วย หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ในรูปธาตุนั้น มีฆานายตนะ และคันธายตนะด้วย หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ในรูปธาตุนั้น มีจักขายตะ และรูปายตนะด้วย หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ในรูปธาตุนั้น มีชิวหายตนะ และรสายตนะด้วย ฯลฯ
ในรูปธาตุนั้น มีกายายตนะ และมีโผฏฐัพพายตนะด้วย หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[1224] ส. ในรูปธาตุนั้น มีโสตายตนะ และสัททายตนะด้วย ฯลฯ
ในรูปธาตุนั้นมีมนายตนะ และธัมมายตนะด้วย หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ในรูปธาตุนั้น มีฆานายตนะ และคันธายตนะด้วย หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ในรูปธาตุนั้น มีมนายตนะ และธัมมายตนะด้วย หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.
ส. ในรูปธาตุนั้น มีชิวหายตนะ และรสายตนะด้วย ฯลฯ
ในรูปธาตุนั้น มีกายายตนะ และมีโผฏฐัพพายตนะด้วย หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[1225] ส. ในรูปธาตุนั้น มีฆานายตนะ แต่ไม่มีคันธายตนะ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ในรูปธาตุนั้น มีจักขายตนะ แต่ไม่มีรูปายตนะ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ในรูปธาตุนั้น มีฆานายตนะ แต่ไม่มีคันธายตนะ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ในรูปธาตุนั้น มีโสตายตนะ แต่ไม่มีสัททายตนะ ฯลฯ
ในรูปธาตุนั้น มีมนายตนะ แต่ไม่มีธัมมายตนะ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[1226] ส. ในรูปธาตุนั้น มีชิวหายตนะ แต่ไม่มีรูปายตนะ ฯลฯ
ในรูปธาตุนั้น มีกายายตนะ แต่ไม่มีโผฏฐัพพายตนะ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ในรูปธาตุนั้น มีจักขายตนะ แต่ไม่มีรูปายตนะ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ในรูปธาตุนั้น มีกายายตนะ แต่ไม่มีโผฏฐัพพายตนะ
หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ในรูปธาตุนั้น มีโสตายตนะ แต่ไม่มีสัททายตนะ ฯลฯ

ในรูปธาตุนั้น มีมนายตนะ แต่ไม่มีธัมมายตนะหรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[1227] ส. ในรูปธาตุนั้น มีจักขายตนะ มีรูปายตนะ และเห็นรูป
นั้น ได้ด้วยจักษุนั้นหรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ในรูปธาตุนั้น มีฆานายตนะ มีคันธายตนะ และ สูด
กลิ่น นั้นด้วยฆานะนั้นหรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ในรูปธาตุนั้น มีจักขายตนะ มีรูปายตนะ และเห็นรูป
นั้น ได้ด้วยจักษุนั้นหรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ในรูปธาตุนั้น มีชิวหายตนะ มีรสายตนะ และลิ้มรส
นั้นได้ด้วยชิวหานั้น ฯลฯ ในรูปธาตุนั้น มีกายายตนะ มีโผฏฐัพพายตนะ
และถูกต้องโผฏฐัพพะนั้นได้ด้วยกายนั้นหรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[1228] ส. ในรูปธาตุนั้น มีโสตายตนะ มีสัททายตนะ ฯลฯ ใน
รูปธาตุนั้น มีมนายตนะ มีธัมมายตนะ และรู้แจ้งธรรมนั้นได้ด้วยมโนนั้น
หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ในรูปธาตุนั้น มีฆานายตนะ มีคันธายตนะ และสูด
กลิ่น นั้นได้ด้วยฆานะนั้นหรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ในรูปธาตุนั้น มีมนายตนะ มีธัมมายตนะ และรู้แจ้ง
ธรรมนั้นได้ด้วยมโนนั้นหรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ในรูปธาตุนั้น มีชิวหายตนะ มีรสายตนะ ฯลฯ ใน
รูปธาตุนั้น มีกายายตนะ มีโผฏฐัพพายตนะ และถูกต้องโผฏฐัพพะนั้นได้
ด้วยกายนั้นหรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[1229] ส. ในรูปธาตุนั้น มีฆานายตนะ มีคันธายตนะ แต่สูดกลิ่น
นั้นด้วยฆานะนั้นไม่ได้หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ในรูปธาตุนั้น มีจักขายตนะ มีรูปายตนะ แต่เห็นรูป
นั้น ด้วยจักษุนั้นไม่ได้ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ในรูปธาตุนั้น มีฆานายตนะ มีคันธายตนะ แต่สูดกลิ่น
นั้น ด้วยฆานะนั้นไม่ได้ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ในรูปธาตุนั้น มีโสตายตนะ มีสัททายตนะ ฯลฯ ในรูป
ธาตุนั้น มีมนายตนะ มีธัมมายตนะ แต่รู้แจ้งธรรมนั้นด้วยมโนนั้นไม่ได้
หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[1230] ส. ในรูปธาตุนั้น มีชิวหายตนะ มีรสายตนะ ฯลฯ ใน
รูปธาตุนั้น มีกายายตนะ มีโผฏฐัพพายตนะ แต่ถูกต้องโผฏฐัพพะนั้นด้วย

กายนั้นไม่ได้หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ในรูปธาตุนั้น มีจักขายตนะ มีรูปายตนะ แต่เห็นรูป
นั้นด้วยจักษุนั้นไม่ได้หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ในรูปธาตุนั้น มีกายายตนะ มีโผฏฐัพพายตนะ แต่
ถูกต้องโผฏฐัพพะนั้นด้วยกายนั้นไม่ได้ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ในรูปธาตุนั้น มีโสตายตนะ มีสัททายตนะ ฯลฯ ใน
รูปธาตุนั้น มีมนายตนะ มีธัมมายตนะ แต่รู้แจ้งนั้นด้วยมโนนั้นไม่ได้
หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[1231] ส. ในรูปธาตุนั้น มีฆานายตนะ มีคันธายตนะ และสูด
กลิ่นนั้นไว้ด้วยฆานะนั้น หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ในรูปธาตุนั้น มีกลิ่นเกิดแต่รากไม้ กลิ่นเกิดแต่แก่น
กลิ่นเกิดแต่เปลือก กลิ่นเกิดแต่ใบ กลิ่นเกิดแต่ดอก กลิ่นเกิดแต่ผล กลิ่นสด
กลิ่นเป็นพิษ กลิ่นหอม กลิ่นเหม็น หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[1232] ส. ในรูปธาตุนั้น มีชิวหายตนะ มีรสายตนะ และลิ้มรส
นั้น ได้ด้วยชิวหานั้น หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.

ส. ในรูปธาตุนั้น มีรสเกิดแต่รากไม้ รสเกิดแต่ลำต้น
รสเกิดแต่เปลือก รสเกิดแต่ใบ รสเกิดแต่ดอก รสเกิดแต่ผล รสเปรี้ยว
หวาน ขม เผ็ด เค็ม ปร่า เฝื่อน ฝาด ดี ไม่ดี หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[1233] ส. ในรูปธาตุนั้น มีกายายตนะ มีโผฏฐัพพายตนะ และ
บุคคลผู้ถูกต้องโผฏฐัพพะนั้นได้ด้วยกายนั้น หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ในรูปธาตุนั้น มีสัมผัสแข็ง อ่อน ละเอียด หยาบ สุข-
สัมผัส ทุกขสัมผัส หนัก เบา หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[1234] ป. ไม่พึงกล่าวว่า อัตภาพอันมีอายตนะ 6 มีอยู่ในรูปธาตุ
หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. ในรูปธาตุนั้น มีฆานนิมิต ชิวหานิมิต กายนิมิต มิใช่
หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. หากว่า ในรูปธาตุนั้น มีฆานนิมิต ชิวหานิมิต กาย-
นิมิต ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า อัตภาพอันมีอายตนะ 6 มีอยู่ใน
รูปธาตุ.
รูปธาตุยา อายตนกถา จบ

อรรถกถารูปธาตุยา อายตนกถา



ว่าด้วย อายตนะในรูปธาตุ



บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องอายตะในรูปธาตุ. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมี
ความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกายอันธกะและสมิติยะทั้งหลายว่า อัตภาพ
ของหมู่พรหมเหล่านั้นมีอายตนะครบทั้ง 6 เพราะอาศัยพระสูตรว่า
พวกพรหมที่มีรูป มีความสำเร็จได้ด้วยใจ มีอวัยวะน้อยใหญ่ทั้งปวง มี
อินทรีย์อันไม่บกพร่อง คือมีอัตภาพสมบูรณ์ ดังนี้ จึงสำคัญว่า แม้ฆานนิมิต
คือรูปร่างของจมูก ของพวกพรหมเหล่านั้นว่า เป็นอายตนะเทียว คือ
หมายความว่าเป็นฆานายตนะนั่นแหละ ดังนี้ คำถามของสกวาทีว่า
อัตภาพ ของพวกพรหม มีอายตนะทั้ง 6 โดยหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบ
รับรองเป็นของปรวาทีด้วยสามารถแห่งลัทธิ. ทีนั้น สกวาทีเพื่อจะท้วง
ด้วยสามารถแห่งอายตนะที่ไม่มีอยู่ในพวกพรหมนั้น จึงเริ่มกล่าวกะ
ปรวาทีนั้นว่า ในรูปธาตุนั้น มีฆานายตนะหรือ เป็นต้น ลำดับนั้น
ปรวาทีก็ตอบรับรองด้วยลัทธิว่า สัณฐานนิมิตของอายตนะทั้ง 3 คือ
ฆานายตนะ ชิวหายตนะ กายายตนะ ที่เป็นภายใน มีฆานายตนะเป็นต้น
อันใดมีอยู่ในรูปธาตุนั้น สัณฐานนิมิตนั้นนั่นแหละเป็นอายตนะ ดังนี้.
ถูกถามด้วยสามารถแห่งคันธายตนะเป็นต้นซึ่งเป็นของภายนอก ปรวาที
เมื่อเสพคุ้นอยู่ซึ่งอารมณ์แห่งฆานายตนะเป็นต้นนั้นจึงไม่ปรารถนา
ฆานปสาทเป็นต้นในรูปธาตุนั้น เพราะฉะนั้น จึงตอบปฏิเสธ. ในปัญหา
ปฏิโลมและปัญหาว่าด้วยการเปรียบเทียบทั้งหลาย บัณฑิตพึงทราบเนื้อ
ความโดยอุบายนี้แหละ.